วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Pathway : คณิตศาสตร์ ม.ปลาย Part 1 (อ่านอะไร แบบไหนก่อนดี)

Pathway : คณิตศาสตร์ ม.ปลาย 1 (อ่านอะไร แบบไหนก่อนดี)

เชื่อว่าหลายๆ คนมีปัญหากับวิชาคณิตศาสตร์ว่ามันยาก(โว้ยยยย) และไม่รู้จะเริ่มอ่านจากตรงไหนก่อนดี วันนี้จะมาแนะนำ “หนังสือที่ต้องอ่าน และบทที่ต้องอ่าน” ก่อนไปหลัง เพื่อการเรียนที่ดีขึ้น และการเตรียมตัวสอบที่จะถึงในอีกไม่กี่เดือน


หนังสือเล่มแรกเลย แน่นอน : หัวใจ PAT 1 (ณัฐ อุดมพาณิชย์)


เตรียมให้พร้อมสำหรับเนื้อหาด้วยหนังสือเล่มนี้ ถามว่าทำไมละ ? เอ้า ! ถ้าเนื้อหายังไม่เป๊ะจะไปต่อยอดโจทย์ได้ยังไง ถ้าให้เอาโจทย์ PAT 1 มานั่งทำเลยมันก็คงไม่ใช่ (เพราะทำไม่ได้แน่นอน) เพราะงั้นเริ่มเนื้อหาจากเล่มนี้ก่อน


How to : อ่านบทไหนก่อนดี : ลำดับบทคือสิ่งสำคัญที่จะต้องบอก จริงๆ แล้วจะบอกให้อ่านตามเนื้อหา ม.4-6 ของกระทรวงเลยแหละ แต่คิดว่ามันอาจจะไม่ทันสำหรับ ม.6 ที่ใกล้จะสอบแล้ว เพราะงั้นจะ “เอาแต่บทที่ต้องเก็บได้” มาบอกละกัน


เซต : บทนี้ตอนม.4 ง่ายหมูๆ แต่พอ PAT 1 ออกมานี่โคตรโหด (อารมณ์ว่าไปขุดมาจากไหน) แต่ควรจะต้องเก็บได้ concept ต้องแม่นจริง ถึงจะทำได้ แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ สมบัติสำคัญเช่น A-B’ = A ∩ B แบบเนี้ย ต้องได้เลยนะ พาร์ทโจทย์ปัญหาต้องฝึกแก้เยอะๆ เพราะจะ งง มากกก ว่ามันพูดถึงอะไร ถ้าไม่เข้าใจก็เราก็เสร็จกัน ถ้าเก็บ concept ได้แล้วจะเก็บบทนี้ง่ายขึ้นเยอะ

ตรรกศาสตร์ : อีกหนึ่งบทที่เก็บคะแนนง่าย บทนี้สิ่งที่ต้องรู้เนี่ยคือสมบัติของมัน เช่น p → q ≡ ~p v q ประมาณนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะโจทย์เล่นตรงนี้บ่อย และเก็บคะแนนได้ง่าย


สถิติ : บทนี้สูตรเยอะ แต่แนวโจทย์ซ้ำ เป็นที่เก็บได้ง่ายมากกก ถ้าจำได้ก็ทำได้เลย ท่องสูตรอย่างเดียวไม่ช่วยอะไรถ้าไม่เคยทำโจทย์เลยทำไม่ได้แน่นอน เพราะงั้นต้องได้นะบทนี้


การเรียงสับเปลี่ยนและความน่าจะเป็น : อันตลกมากสลับกับด้านบน สูตรน้อยแต่โจทย์มีหลายรูปแบบ เอาไปประยุกต์กับเซตก็ยังมีมาแล้ว (อึ้งแปป!) แต่ถ้าฝึกทำโจทย์มาเยอะ ก็จะทำได้ ถึงจะเยอะแต่ก็ยังคง concept เดิมไว้อยู่ พลิกแพลงบ้างแหละตามสไตล์คณิตศาสตร์


ตรีโกณมิติ : อ้าววว บทยากมาแล้ว ทำไมต้องเอาบทนี้ละ ! รู้ไหมว่าบทนี้เอาไปประยุกต์ได้เยอะมากกก มากจนไม่รู้จะเยอะไปไหน เป็นบทที่สูตรเยอะ สไตล์โจทย์เยอะ (แต่ผมบทนี้มาก 5555) ค่อยๆ ฝึกทำไปที่ละช่วงโจทย์ครับ เช่น ตอนนี้กำลังสูตร 2A ก็ทำแต่โจทย์ส่วน 2A (2A คือมุมสองเท่าอ่ะครับ เช่น tan2A, sin2A etc.) ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ ครับ ทำโจทย์เยอะ บทนี้ได้แค่สูตรไม่พอ ถ้าไม่เคยทำโจทย์ก็เน่าตายก่อนนะ (ถ้าคิดว่ามันยากมันก็จะยากต่อไปแบบนั้นแหละ คิดใหม่ว่าเราต้องทำได้สิ ! อยากบอกว่าบทนี้ถ้าทำได้มันสนุกมากกกก เพราะโจทย์มาหลายรูปแบบ แล้วน้องๆ จะรักมันแบบไม่รู้ตัว)


เมตริกซ์ และ จำนวนจริง : เมตริกซ์นี่ก็ชอบเอาไปโดนประยุกต์กับบทอื่นนะ เนื้อหากับโจทย์ง่ายอยู่แล้ว ถ้าแม่น concept ทำโจทย์มาเยอะ ทำได้แน่นอน ส่วนจำนวนจริงเนี่ย ออกเยอะส่วนใหญ่จะเป็นสมการ กับ พวกค่าสัมบูรณ์ ออกเยอะ ต้องทำโทย์และแม่นสูตรจริงๆ ถึงจะเข้าใจและทำได้ (ไม่ยากๆ เก็บให้ได้นะ)


Exponential and Logarithmic Function : ก็คือเลขยกกำลังกับล็อกนั่นแหละ ง่ายอยู่นะ ผมชอบมาก ถ้าได้คือได้เลยอ่ะ เป็นบทที่ง่ายจริงๆ เก็บคะแนนได้ง่ายด้วย ต้องทำโจทย์เยอะ จำสูตรสำคัญๆ ให้ได้แล้วจะทำได้จริงๆ


ลำดับและอนุกรม : ผมชอบอีกแล้ว 5555 บทนี้จริงๆ ง่ายนะ สูตรน้อยและรูปแบบโจทย์ไม่เยอะเท่าไหร่ ต้องฝึกโจทย์เยอะๆ (ถ้าบทนี้เข้าใจแล้วน้องจะรักมันมากขึ้น ชอบมากพอๆ กับตรีโกณมิติเลย)

ฟังก์ชัน : บทนี้ต้องได้เลยนะ เป็นอีกบทที่ชอบประยุกต์เข้ากับบทอื่นๆ ถึงแม้มันจะมีอะไรไม่รู้เยอะแยะหลายรูปแบบไปหมด แต่ถ้าจำสูตรได้ ทำโจทย์เยอะ บทนี้ก็ทำได้แน่นอน

แคลคูลัส : บทนี้สำหรับ ม.ปลาย ไม่ยากนะ ถ้าเข้าใจจริงๆ อ่ะ เก็บคะแนนง่ายมาก (ผมชอบอีกแล้ว ชอบเยอะไปไหม 5555)  บทนี้ต้องเข้าใจจริงๆ นะ ต้องทำโจทย์ด้วย (มันก็ต้องทำทุกบทแหละ) บทนี้ถ้าได้ รับรองเก็บคะแนนได้ฉิวเหมือนกัน


ทั้งหมดนี้คือบทที่ต้องเก็บได้ (เหมือนจะเยอะแต่ไม่เยอะนะ) สุดท้ายไม่ว่าบทไหนก็ตามก็ต้องจำสูตรได้ ท่องๆ ไปเหอะ แต่ท่องแล้วก็ต้องทำโจทย์ด้วยนะ เพราะใช่ว่าเราจะมีเวลามานั่งพิสูจน์สูตรทั้งหมด มันเป็นไปไม่ได้ เพราะงั้นขอเอาแค่ใช้ได้ ใช้กับโจทย์เป็น น้องก็ถึงฝั่งฝันได้แล้วนะ


หนังสืออีกสามเล่มที่เหลือแนะนำ : 1001 tests in Maths เล่ม 1, 2, 3
สามเล่มนี้เป็นโจทย์แยกบท ถ้าจะหาโจทย์แยกบทเยอะๆ ทำ แนะนำ 3 เล่มนี้เลย ไม่ผิดหวังจริงๆ นะ (เดี๋ยวจะมาบอกแนวทางของเล่ม Syntax และ Vaccine ต่อ)


ปล. บทอื่นๆ ที่เหลือจะมาต่อว่าทำไมไม่อยู่ในลิสต์ที่ควรเก็บ (จริงๆ มันก็ต้องเก็บทุกบทแหละ แต่ถ้าไม่มีเวลาก็เอาเท่านี้ไปก่อนละกัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น